แชร์

"ยาอี" ยาเสพติดมีฤทธิ์อันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย

อัพเดทล่าสุด: 7 ต.ค. 2024
97 ผู้เข้าชม

    "ยาอี" จัดเป็นยาเสพติดสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เสพรู้สึกมีความสุขมากกว่าเดิม กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศ แต่ขณะเดียวกันมันก็จัดเป็นยาเสพติดชนิดรุนแรงที่ให้โทษถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว หรือถึงแม้ผู้เสพจะไม่เสียชีวิต ยาอีก็ส่งผลกระทบทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางสุขภาพได้มากมาย

"ยาอี" มีชื่อเรียกเต็มว่า ยาเอ็กซ์ตาซี (Ecstasy)  เป็นยาเสพติดสังเคราะห์ที่แต่เดิมผลิตขึ้นมาเพื่อรักษาโรคอ้วน และโรคนอนหลับผิดปกติ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกการใช้เป็นยารักษาแล้ว และกลายเป็นยาเสพติดในรูปของยาแคปซูล ยาผง และยาเม็ดเม็ด

ยาอีได้รับฉายาอีกอย่างว่า "ยาแห่งความรัก" หรือ "ยาเลิฟ" เนื่องจากสามารถออกฤทธิ์ทำให้ผู้เสพรู้สึกได้รับความรักใคร่ หรือความอบอุ่นอย่างไม่มีที่มาที่ไป ผู้เสพยาอีมักเสพยาตัวนี้เพื่อให้เกิดความรู้สึกทางเพศมากขึ้น อีกทั้งเป็นยาที่กระตุ้นทำให้ผู้เสพอยากบอกความในใจออกมาทุกอย่าง รวมถึงทำให้รู้สึกมีกำลังวังชา ตื่นตัวขยันขันแข็งมากกว่าเดิม ผู้ที่กำลังเศร้า หรือเครียดยังมักเสพยาอีเพื่อให้ตนเองรู้สึกมีความสุข และสนุกสนานมากกว่าเดิมด้วย



 ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอี :
ยาอีจะออกฤทธิ์ส่งผลต่อสารเคมีในสมองภายใน 30 นาทีหลังเสพยา ผู้เสพจะรู้สึกเมายาไปเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 ชั่วโมง ซึ่งถึงแม้ยาอีจะออกฤทธิ์สร้างความสุข และทำให้เกิดกำลังวังชา แต่ก็ทำให้เกิดโทษมากมายต่อร่างกาย

1. ผลข้างเคียงระยะสั้นของยาอี :

ยาอีจะส่งผลข้างเคียงต่อสารเคมี 2 ชนิดภายในสมอง ได้แก่ สารนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) และ สารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้ผู้เสพรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มีความสุข แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด และก้าวร้าวสำหรับผลข้างเคียงระยะสั้นของยาอีที่มีต่อร่างกาย ได้แก่

  • รู้สึกหวาดระแวง วิตกกังวลหนัก
  • ความดันโลหิตสูง
  • จังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หรือเรียกว่า ภาวะตัวร้อนเกิน (Hyperthermia)"
  • ปัสสาวะม่วง
  • กัด หรือขบฟันบ่อยผิดปกติ
  • กล้ามเนื้อตึง และเกร็งกล้ามเนื้ออย่างควบคุมไม่ได้
  • คลื่นไส้
  • ตาลาย
  • การมองเห็นแย่ลง
  • วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม

2. ผลข้างเคียงระยะยาวของยาอี :

ผู้เสพยาอีจะต้องการยาในปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อติดยา ซึ่งฤทธิ์ของยาอีจะส่งผลกระทบมากต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตสูง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ และทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ อาจกล่าวได้ว่าผลข้างเคียงระยะยาวจากการเสพยาอีนั้นมีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  นอกจากนี้การเสพยาอียังส่งผลการทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกายอีก เช่น

  • ปวดศีรษะ
  • ปวดศีรษะ
  • ความจำเสื่อม
  • เกิดภาวะซึมเศร้า
  • คลุ้มคลั่ง ก้าวร้าวกว่าเดิม
  • เกิดอาการวิตกกังวล
  • นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ทารกในครรภ์อาจมีอวัยวะผิดปกติ

ผู้เสพยาบางรายอาจมีอาการเมาค้างหลังจากยาหมดฤทธิ์แล้ว โดยจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ นอนไม่หลับ เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร และสุดท้ายเมื่อเสพยาเกินขนาด ผู้เสพจะเกิดอาการประสาทหลอน ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะไตวาย มีอาการชัก และเสียชีวิตในที่สุด

ยาอีจัดเป็นยาเสพติดราคาแพง ผู้ผลิตยาจึงอาจผสมสารเสพติดชนิดอื่นๆ ลงไปในเม็ดยาเพื่อให้ยาราคาถูกมากขึ้น เช่น ยาเค เฮโรอีน ซึ่งจะยิ่งทำให้ฤทธิ์ยารุนแรง และเป็นอันตรายต่อร่างกายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

ทางที่ดีหากมีใครชักชวนให้คุณเสพยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นชื่อใดก็ตาม ให้คุณหลีกเลี่ยงปฏิเสธโดยเด็ดขาด เพราะการทดลองเสพยาเพียงครั้งเดียว อาจนำไปสู่การติดยาซึ่งยากจะถอนตัว และทำให้คุณต้องทุกข์ทรมานกับสุขภาพที่ทรุดโทรมลง รวมถึงอาจต้องใช้เวลาอีกนานจึงจะเลิกยาสำเร็จได้

หากคุณ หรือ คนในครอบครัวอยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ปราศจากยาเสพติด ปรึกษา The Loft 4Rest  ( เดอะ ล็อฟท์ ฟอร์ เรส ) สถานฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด เรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :                                           

 89/75-76 ซอยวงศ์สว่าง19 (ซอยวัดหลวง) แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
 098-916-1282
 www.theloft4rest.com
จันทร์ - อาทิตย์: 08.00 -17.00 น.





บทความที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบจากการติดสารเสพติดขณะ "ตั้งครรภ์"
แม่ใช้ "สารเสพติด" เมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม มักไม่ฝากครรภ์ ไม่ดูแลตัวเอง ส่งผ่านสารเสพติดสู่ลูกน้อยเรื่อยๆ กระทั่งคลอด เด็กที่คลอดมาจึงไม่แข็งแรง
30 ต.ค. 2024
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้กลับไปเสพ "ยาเสพติด" ซ้ำ
การรับมือกับการกลับไปเสพยาเสติดอีกครั้ง หลังจากผ่านการบำบัดยาเสพติดรักษามาแล้วนั้น เป็นความท้าทายทั้งต่อตัวผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดและครอบครัว
28 ต.ค. 2024
 อันตรายจาก "ทรามาดอล" หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
"ทรามาดอล" หรือ "ยาเขียวเหลือง" ยาแก้ปวดมากประโยชน์ในทางการเเพทย์ ที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในรูปแบบของการเสพติดอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่น
22 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy