แชร์

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้กลับไปเสพ "ยาเสพติด" ซ้ำ

อัพเดทล่าสุด: 28 ต.ค. 2024
117 ผู้เข้าชม

กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพจากการติดยาเสพติดเต็มไปด้วยความท้าทาย หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการจัดการกับตัวกระตุ้น  ตัวกระตุ้นคือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความอยากและอาจนำไปสู่การกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำได้ การทำความเข้าใจว่าปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้กลับไปเสพยาเสพติดคืออะไร ส่งผลต่อกระบวนการฟื้นฟูอย่างไร และกลยุทธ์ในการจัดการตัวกระตุ้นเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเลิกยาเสพติดในระยะยาว

 ปัจจัยที่ทำให้กลับไปเสพติดซ้ำคืออะไร :

การกลับไปเสพยาซ้ำเกิดจากการมีความคิดที่จะล้มเลิกความตั้งใจหยุดยา อีกทั้งมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการกลับไปใช้ยาอีกครั้ง แต่ปัจจัยที่พบส่วนมาก เช่น

  • ความอยากรู้อยากทดลอง
  • ความรู้สึกด้านลบและระดับของอารมณ์ เช่น ความเหงา รู้สึกตนเองถูกทอดทิ้ง โดด เดี่ยว เป็นต้น
  • ความเครียด ปัญหาชีวิตที่เข้ามา
  • งานเลี้ยงและการสังสรรค์ เทศกาลต่างๆ
  • การอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดิมที่มีการใช้ยาเสพติด หรือสถานที่เก่าๆที่เกี่ยวข้องกับการเสพ ยา
  • ความคิดความเชื่อที่ไม่เหาะสม เช่น คิดว่าเสพนิดเดียวไม่เป็นไร เสพแล้วลืมความ ทุกข์ ใช้แล้วสนุก มั่นใจ กล้าแสดงออกมากขึ้น เป็นต้น

 


กลไกของการกระตุ้นให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดอาการติดยาเสพติดกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยต้องเผชิญกับภาวะที่มีความเสี่ยงสูงจนทำให้เกิดแรงกดดัน และผู้ป่วยพยายามจะหลีกหนีสภาวะนั้น ผู้ป่วยจะคิดถึงช่วงเวลาแห่งการใช้ยาเสพติดที่ทำให้ผู้ป่วยผู้สึกมีความสุข และไม่ต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวด เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ผู้ป่วยจึงหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดด้วยการหวนกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกครั้ง โดยเริ่มต้นจากการเสพเป็นครั้งคราว และเมื่อผู้ป่วยยังคงต้องเผชิญกับสังคมเดิมๆ ปัญหาความกดดันเดิมๆ ผู้ป่วยจึงใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นกลับไปติดยาเสพติดอีกครั้ง

 วิธีการจัดการกับปัจจัยที่ทำให้กลับไปเสพติดซ้ำ

  • หลีกเลี่ยง : การหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นที่ทำให้อยากกลับไปเสพยา เป็นกลยุทธ์ที่ง่ายและเป็นไปได้ที่สุด ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแวดวงสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่บางแห่ง หรือค้นหางานอดิเรกและกิจกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดอีกต่อไป
  • ฝึกสติและการผ่อนคลาย : การฝึกปฏิบัติต่างๆ เช่น การเจริญสติรูปแบบต่าง ๆ ทำสมาธิ  ฝึกการหายใจลึกๆ และการผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยให้บุคคลมีสติ สงบอารมณ์ได้ และมีรู้เหตุรู้ผล ช่วยลดพลังของตัวกระตุ้น
  • พัฒนากลไกการรับมือ : การพัฒนากลไกการรับมือเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอาจรวมถึงการออกกำลังกาย นั่งสมาธิ งานอดิเรก หรือการพูดคุยกับเพื่อนหรือนักบำบัดที่ให้กำลังใจ กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยจัดการกับความเครียดและสิ่งกระตุ้นทางอารมณ์ได้โดยไม่ต้องพึ่งการใช้สารเสพติด
  • เครือข่ายสนับสนุน : การอยู่ใกล้ชิดกับเครือข่ายการสนับสนุนที่แข็งแกร่งถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงเพื่อน ครอบครัว กลุ่มผู้คนที่สนับสนุนให้เลิกยาเสพติด และผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจกระบวนการฟื้นฟูและสามารถให้กำลังใจได้
  • แผนป้องกันการกำเริบของโรค : การวางแผนป้องกันการกลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้งโดยละเอียดถือเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งควรสรุปขั้นตอนที่ต้องลงมือปฏิบัติเมื่อเผชิญกับตัวกระตุ้น จะช่วยให้มีแนวทางปฏิบัติตัวที่ชัดเจน แผนนี้ควรรวมถึง กลยุทธ์การรับมือ รายชื่อผู้ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน และขั้นตอนในการเอาตนเองออกจากสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการกลับไปใช้ซ้ำ



หากคนที่เรารักหรือคนรอบข้างกลับไปเสพยาเสพติดอีกครั้ง ความรู้สึกเป็นห่วงที่อยากจะพาเข้ารับการรักษาหรือบำบัดยาเสพติดคงเกิดขึ้นในทุกครอบครัวอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การเลิกสารเสพติดให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพจะต้องมาจากความต้องการของผู้เสพติดเอง สิ่งที่ครอบครัวทำได้คือการรับฟัง ละให้กำลังใจเมื่อผู้เสพยาเสพติดกำลังทำสิ่งที่ดีต่อตนเอง เราสามารถสนับสนุนให้เขาดูแลตัวเอง เช่น ชักชวนทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ การออกกำลังกาย หรือ การออกไปเปิดหูเปิดตานอกบ้าน 

หากท่านหรือคนในครอบครัวประสบปัญหาเรื่องยาและสารเสพติดปรึกษา The Loft 4Rest ( เดอะ ล็อฟท์ ฟอร์ เรส ) สถานฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด เรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :                                           
 89/75-76 ซอยวงศ์สว่าง19 (ซอยวัดหลวง) แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
 098-916-1282
 www.theloft4rest.com
จันทร์ - อาทิตย์: 08.00 -17.00 น.

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบจากการติดสารเสพติดขณะ "ตั้งครรภ์"
แม่ใช้ "สารเสพติด" เมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม มักไม่ฝากครรภ์ ไม่ดูแลตัวเอง ส่งผ่านสารเสพติดสู่ลูกน้อยเรื่อยๆ กระทั่งคลอด เด็กที่คลอดมาจึงไม่แข็งแรง
30 ต.ค. 2024
 อันตรายจาก "ทรามาดอล" หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
"ทรามาดอล" หรือ "ยาเขียวเหลือง" ยาแก้ปวดมากประโยชน์ในทางการเเพทย์ ที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในรูปแบบของการเสพติดอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่น
22 ต.ค. 2024
" รางจืด " สมุนไพรมากสรรพคุณ ถอนสารเสพติดได้จริงหรือ
"รางจืด" เป็นสมุนไพรที่มีชื่อเสียงมายาวนานในการช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ทั้งจากสารเคมี พิษสัตว์ ยาเสพติด และแอลกอฮอล์
18 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy