แชร์

ภาวะ "สมองติดยา"

อัพเดทล่าสุด: 25 ก.ย. 2024
100 ผู้เข้าชม

      ผู้ที่เสพยา หรือสารเสพติดหลายคน มักเข้ากระบวนการเลิกยาและสารเสพติดอย่างจริงจังช้าเกินไป เพราะคิดว่า การเสพเพียงครั้งคราวไม่ใช่การติดยาและไม่น่าจะเป็นอันตราย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด

เนื่องจากความจริงนั้นการเสพยาเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้สมองติดยาได้แล้ว นอกจากนี้การเสพยายังทำลายเซลล์สมอง ทำให้เกิดอาการทางจิตได้อีกด้วย

สมองติดยา เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อเสพยาเข้าไปในร่างกาย จะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ

  • สมองส่วนความคิด (Cerebral Cortex) ทำหน้าที่ จดจำ คิด จินตนาการ และตัดสินใจ
  • สมองส่วนอยาก (Limbic System) เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึก

โดยการกระตุ้นให้สมองหลั่งโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความสุขมากขึ้นกว่าปกติอย่างรวดเร็ว เกิดความพึงพอใจมากกว่าปกติ เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็จะรู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า ทำให้ต้องการเสพยาซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ จนเกิดเป็นภาวะสมองติดยานั่นเอง

ยาเสพติด ทำลายเซลล์สมอง ทำให้เกิดอาการทางจิตอย่างไร?
ปกติแล้ว จะเห็นผลชัดเจนหลังจากเสพยา 1 เดือน โดยสารเสพติดจะเข้าไปทำลายเซลล์สมองส่วนคิด ทำให้การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเสียไปจนทำให้สมองส่วนอยากมีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด โดยเฉพาะช่วงอาการอยากสารเสพติด

ผู้เสพยาจะทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล จึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือขาดความยับยั้งชั่งใจ
พฤติกรรมเหล่านี้เองที่มักนำไปสู่ความรุนแรงในสังคมที่พบเห็นได้บ่อยๆ ทั้งการปล้นจี้ ลักขโมย ทำร้ายคนใกล้ชิด ก่อเรื่องที่ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย ฯลฯ

นอกจากนี้ในบางรายยังอาจเกิดอาการทางจิต มีหูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวง เพ้อคลั่ง อาละวาด จนกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชได้ เพราะสมองส่วนคิดที่ถูกทำลายไปแล้วจะไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม จุดจบของผู้ป่วยสารเสพติดส่วนใหญ่จึงมักเป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ซึ่งไม่สามารถบำบัดและรักษาให้กลับมาเป็นคนเดิมได้นั่นเอง



สามารถบำบัดรักษาให้สมองฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ไหม?
เป็นเรื่องยากที่จะยืนยันว่า สามารถบำบัดรักษาให้สมองฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้ที่หยุดยาเสพติดตั้งแต่เริ่มเสพไม่นานและเข้ารับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสที่สมองจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติมากขึ้นได้

แต่ในกลุ่มที่เสพยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 5-10 ปี แม้ว่าจะเข้ารับการบำบัด หรือเลิกยาเสพติดได้แล้วก็อาจจะช้าเกินไป เพราะสมองถูกสารเสพติดทำลายจนกลายเป็นโรคสมองพิการถาวรไปแล้ว แม้ว่าโอกาสที่สมองกลับมาเป็นปกติเป็นเรื่องยาก และทำให้ไม่สามารถใช้สมองเพื่อเรียน หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นคนทั่วไป แต่การเลิกยาเสพติดก็ยังเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่ดี

      ยาเสพติดเป็นภัยร้ายสำหรับทุกคน ดังนั้นครอบครัวควรใส่ใจดูแลด้วยความเข้าใจ ให้ความรัก ความอบอุ่น เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้คิดริลองยาดีกว่าปล่อยให้เกิดการเสพจนสูญเสียความเป็นคน ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากยาเสพติด

หากคุณ หรือ คนในครอบครัวอยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ปราศจากยาเสพติด ปรึกษา The Loft 4Rest  ( เดอะ ล็อฟท์ ฟอร์ เรส ) สถานฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด เรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา


สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :                                                                 
 89/75-76 ซอยวงศ์สว่าง19 (ซอยวัดหลวง) แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

 098-916-1282
 www.theloft4rest.com
จันทร์ - อาทิตย์: 08.00 -17.00 น.


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบจากการติดสารเสพติดขณะ "ตั้งครรภ์"
แม่ใช้ "สารเสพติด" เมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม มักไม่ฝากครรภ์ ไม่ดูแลตัวเอง ส่งผ่านสารเสพติดสู่ลูกน้อยเรื่อยๆ กระทั่งคลอด เด็กที่คลอดมาจึงไม่แข็งแรง
30 ต.ค. 2024
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้กลับไปเสพ "ยาเสพติด" ซ้ำ
การรับมือกับการกลับไปเสพยาเสติดอีกครั้ง หลังจากผ่านการบำบัดยาเสพติดรักษามาแล้วนั้น เป็นความท้าทายทั้งต่อตัวผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดและครอบครัว
28 ต.ค. 2024
 อันตรายจาก "ทรามาดอล" หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
"ทรามาดอล" หรือ "ยาเขียวเหลือง" ยาแก้ปวดมากประโยชน์ในทางการเเพทย์ ที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในรูปแบบของการเสพติดอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่น
22 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy