" การรับมือกับความเครียด หัวใจของการเลิกยาเสพติด "
การเลิกยาเสพติดนั้นไม่ใช่แค่เพียงการหยุดใช้สารเสพติดได้ แต่ยังรวมไปถึงการจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังเลิกยา ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในการเลิกยาในระยะยาว
การจัดการความอยากยาเสพติด : ความอยากใช้ยาเสพติดเป็นความรู้สึกของผู้เสพติดยาเสพติด ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้ใช้ติดยาเสพติดและมีการแสดงออกมาทางร่างกาย ซึ่งมีปัจจัยกระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ความอยากเสพยาเสพติดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์และการรับรู้ของแต่ละบุคคล ดังนั้นการจัดการความอยากยาเสพติด จะต้องเริ่มต้นที่ การตระหนักและยอมรับตนเองเกี่ยวกับความอยากเสพยาเสพติด การแยกแยะ และสามารถรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
การจัดการกับอารมณ์และความเครียด ความสามารถในการจัดการความเครียด ความโกรธ ความขัดแย้งและการบริหารเวลาเป็นทักษะ ที่สำคัญในการเผชิญปัญหา บุคคลที่ไม่สามารถจัดการกับความกดดันทางสังคม จากตัวเองหรือ จากกลุ่มเพื่อน จะมีแนวโน้มในการใช้สารเสพติด
- การควบคุมจิตใจตนเอง ทั้งการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรม โดยการเข้าใจ ตนเอง รับรู้ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดความอยากใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงการเผชิญ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความอยากยาเสพติด ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ที่ใช้ใน การเสพยาเสพติด และสิ่งแวดล้อมเดิม ๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด การควบคุม ตนเองโดยการจัดการกับอาการแรกเริ่มของความอยากยาเสพติดและการรับ รู้อาการเตือนที่ทำให้เกิดความอยากเสพยาเสพติดได้อย่างทันที ไม่ปล่อยให้เกิดเป็นความรู้สึกอยากที่มากขึ้น จะช่วยให้ผู้ใช้ยาเสพติดสามารถควบคุมตนเองไม่ให้ใช้ยาเสพติดได้เป็นการตัดวงจรของการกลับไปใช้ยาเสพติดได้สำเร็จ
- การพยายามเบี่ยงเบนไปสู่สิ่งอื่น เป็นวิธีการมุ่งเน้นให้ผู้ใช้ติดยาเสพติดสนใจสิ่งอื่นที่ น่าสนใจมากกว่าความอยากยาเสพติดที่เกิดขึ้น
- แก้ที่สาเหตุความเครียด วิธีจัดการความเครียดโดยการแก้ที่สาเหตุหรือเรื่องที่ทำให้เราเกิดความเครียดนั้น เป็นการแก้ความเครียดที่ต้นตอ อย่างแรกที่ต้องจัดการคือเราต้องมีสติในการแก้ไขปัญหา ไม่โทษตัวเองหรือคนอื่น แต่ให้พยายามหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และรับยอมว่าบางสิ่งนั้นอยู่เหนือการควบคุมของเราและเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อลดการเกิดปัญหาในอนาคตต่อไป
- ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นวิธีจัดการความเครียดที่จะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข ทำให้เรารู้สึกมีความสุข เคลิบเคลิ้ม อิ่มอกอิ่มใจ คลายเครียด และเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายเพื่อลดความเครียดนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากหรือออกอย่างหนัก สามารถออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือเล่นโยคะเบา ๆ ก็ช่วยเบี่ยงเบนความอยากสารเสพติดและความเครียดได้
สำหรับแนวทางห่างไกลยาเสพติด คือเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก หากมีความเครียดควรทบทวนหาสาเหตุ คุยกับเพื่อน หรือบุคคลที่เราไว้วางใจ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขร่วมกัน ปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสม ทั้งบ้าน ที่ทำงานให้บรรยากาศดีขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในบ้าน ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ พักผ่อนหย่อนใจ โดยหางานอดิเรกทำ เช่น ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูทีวี ท่องเที่ยว งดสูบบุหรี่และสุรา ไม่เล่นการพนัน และไม่สำส่อนทางเพศ ที่สำคัญคือยอมรับสภาพความเป็นจริงของชีวิต และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเท่าที่ทำได้เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ท้อถอย สร้างความเชื่อในตนเอง มองตนเองมีคุณค่ามีความสามารถ มีศักดิ์ศรี มีความภาคภูมิใจในตนเอง มองโลกในแง่ดี คิดทางบวกเป็นความคิดที่นำความสุขมาสู่ตน
หากคุณ หรือคนในครอบครัวเป็นผู้ที่หลงผิดแล้วและอยากเลิกยาเสพติด ปรึกษา The Loft 4Rest ( เดอะ ล็อฟท์ ฟอร์ เรส ) สถานฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากสารเสพติด เรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษา
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
89/75-76 ซอยวงศ์สว่าง19 (ซอยวัดหลวง) แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
098-916-1282
www.theloft4rest.com
จันทร์ - อาทิตย์: 08.00 -17.00 น.