แชร์

" รู้จักกับการติดยาเสพติด : ทำไมมันถึงยากที่จะเลิก? "

อัพเดทล่าสุด: 5 ก.ย. 2024
85 ผู้เข้าชม

 สารเสพติดคืออะไร ?

สารเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดย การกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ, มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา, มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ส่งผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง

 กฎหมายประเทศไทยยึดการกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยแบ่งสารเสพติดให้โทษ เป็น 5 ประเภท ดังนี้

ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1  ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ

- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2  ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน

- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3  ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่างๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น

- ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4  คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และอะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูโดอีเฟดรีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้

- ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น                                                                           

 ส่วนการแบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่       

1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และโคคาอีน
3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือหลอนประสาทได้พร้อมๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา

 ทำไมมันถึงยากที่จะเลิก :

  การเลิกยาเสพติดเป็นการเดินทางที่ยากลำบาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ การทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ติดยาและอุปสรรคในการเลิกยา จะช่วยให้คุณวางแผนและก้าวผ่านไปได้ ปัจจัยที่ทำให้เลิกยาเสพติดได้ยาก เช่น สภาพแวดล้อม การขาดความสุข ขาดเป้าหมายในชีวิต การหนีปัญหา ฯลฯ 

  การเลิกยาเสพติดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม แต่ถ้าคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนและได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อนหรือครอบครัว คุณก็สามารถเอาชนะความยากลำบากและมีชีวิตใหม่ได้


**คำคมประจำวัน:** "การรู้จักปัญหาเป็นก้าวแรกของการแก้ไขปัญหา"



บทความที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบจากการติดสารเสพติดขณะ "ตั้งครรภ์"
แม่ใช้ "สารเสพติด" เมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม มักไม่ฝากครรภ์ ไม่ดูแลตัวเอง ส่งผ่านสารเสพติดสู่ลูกน้อยเรื่อยๆ กระทั่งคลอด เด็กที่คลอดมาจึงไม่แข็งแรง
30 ต.ค. 2024
ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้กลับไปเสพ "ยาเสพติด" ซ้ำ
การรับมือกับการกลับไปเสพยาเสติดอีกครั้ง หลังจากผ่านการบำบัดยาเสพติดรักษามาแล้วนั้น เป็นความท้าทายทั้งต่อตัวผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดและครอบครัว
28 ต.ค. 2024
 อันตรายจาก "ทรามาดอล" หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
"ทรามาดอล" หรือ "ยาเขียวเหลือง" ยาแก้ปวดมากประโยชน์ในทางการเเพทย์ ที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในรูปแบบของการเสพติดอย่างแพร่หลายในหมู่วัยรุ่น
22 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy